หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

๕) การติดต่อกับต่างประเทศ

๕) การติดต่อกับต่างประเทศ
            ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แม้การติดต่อเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศค่อนข้างเกิดขึ้นอย่างจำกัดและไม่คึกคักดังเช่นสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ทางการสยามก็พยายามส่งเสริมการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศให้เจริญรุ่งเรืองดังเช่นสมัยกรุงศรีอยุธยา จดหมายเหตุต่างชาติระบุว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงโปรดปรานการค้าอย่างมากและทรงเปิดโอกาสทางการค้าแก่สินค้าทุกชนิดจากเมืองจีน ทำให้มีชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานจำนวนมากทำให้กลายเป็นพ่อค้ากลุ่มสำคัญ ในปีพ.ศ.๒๓๑๗ และ พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามส่งพระราชสาส์นไปยังราชสำนักจีน เพื่อขอซื้อกำมะถันและกระทะเหล็กจากจีนแต่ไม่ได้รับการยอมรับจากราชสำนักจีน ในปีพ.ศ.๒๓๒๔เมื่อจักรพรรดิจีนทรงรับรองพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์สยามแล้ว พระองค์จึงได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งจักรพรรดิจีนทรงรับไว้เพียงช้าง ๑ เชือกและนอระมาดเท่านั้น ส่วนสิ่งของอื่นๆจักรพรรดิจีนทรงอนุญาตให้ราชทูตสยามนำไปขายที่เมืองกวางตุ้งได้โดยไม่เสียภาษี

            สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังทรงสนับสนุนให้ชาวจีนเป็นนายเรือเพื่อนำสินค้าไปขายในนามของพระมหากษัตริย์สยามพร้อมกับสินค้าส่วนตัว หลวงอภัยพานิชหรือจีนมั่วเสง เป็นนายเรือคนหนึ่งของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ส่งสินค้าไปขายที่เมืองจีนปีละ ๑๕ ลำ โดยมีเรือสินค้าของตนร่วมเดินทางไปปีละ ๒ ลำ [83]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น