หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

๑.๔ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรี

๑.๔ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรี 

            เมื่อ “เสียน” หรือ“แคว้นสุพรรณภูมิ “ ยอมจำนนต่อหลอ-หู(ละโว้)” หรือตามที่ระบุในหลักฐานประวัติศาสตร์ของราชวงศ์หมิงว่า “เนื่องจากหลอ-หูมีแสนยานุภาพสูง จึงได้ผนวกเอาดินแดนของเสียนและเรียกชื่อว่า เสียน-หลอหู” ซึ่งตรงกับเรื่องราวที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายเล่ม อาทิพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า

            “ศุภมัสดุ ศักราช๗๑๒ ปีขาล โทศก (พ.ศ.๑๘๙๓) วันศุกร์ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๕ เพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบาตร ได้สังข์ทักษิณาวัฏใต้ต้นหมันใบหนึ่ง แล้วสร้างพระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง แล้วพระเจ้าอู่ทองเสด็จเข้ามาเสวยราชสมบัติ พระชนม์ได้ ๓๗ พรรษา ชีพ่อพราหมณ์ถวานพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ….”[55]

            กรุงศรีอยุธยา มีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการนานถึง ๔๑๗ ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น ๓๓ พระองค์ ในปีพ.ศ.๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาได้ถูกกองทัพพม่าปิดล้อมโจมตีและเผาทำลายลงไป พระยากำแพงเพชรหรือพระยาตาก ซึ่งได้รวบรวมกำลังไพร่พลไทยจีนฝรั่งและมุสลิม ประกาศตนเป็นเจ้าและต่อสู้ขับไล่พม่า เสวยราชสมบัติที่เมืองธนบุรีเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(สมเด็จพระบรมราชาที่๔ พระเจ้าตากสิน) รวมทั้งปราบปรามชุมนุมต่างๆจนราบคาบ [56]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น